Co-Working Space

ประโยชน์ของ Co-Working Space สำหรับนักฟรีแลนซ์และธุรกิจขนาดเล็ก

ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวขึ้นอย่างรวดเร็วและการทำงานที่ยืดหยุ่นกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก นักฟรีแลนซ์และธุรกิจขนาดเล็กต้องการที่ทำงานที่สะดวกสบายและเต็มไปด้วยความคล่องตัว เพื่อตอบสนองความต้องการนี้ การใช้งาน Co-Working Space กลายเป็นทางเลือกที่สมบูรณ์แบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของนักฟรีแลนซ์และธุรกิจขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประโยชน์ที่ 1: คล่องตัวและเน้นที่ผู้ใช้บริการ Co-Working Space ไม่เพียงแค่เป็นพื้นที่ทำงานแบบร่วมกัน แต่ยังเป็นสถานที่ที่มีการจัดระเบียบและบริการที่คล่องตัวต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ บริการที่มักจะมีมากมายรวมทั้งอินเทอร์เน็ตที่เร็วและน安定 สถานที่จัดประชุม ร้านกาแฟ และพื้นที่ทำงานส่วนตัวที่สามารถให้ความเป็นส่วนตัวในขณะทำงานได้ ประโยชน์ที่ 2: การสร้างเครือข่ายและโอกาสทางธุรกิจ Co-Working Space เป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการสร้างเครือข่ายธุรกิจ เนื่องจากมีผู้ทำงานจากสาขาอาชีพต่าง ๆ มารวมตัวกัน การได้รับโอกาสในการพบปะและแลกเปลี่ยนความรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่จัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เช่น สัมมนา หรือกิจกรรม Networking ที่สามารถเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้อีกด้วย ประโยชน์ที่ 3: ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานใน Co-Working Space ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ เช่น ค่าเช่าสำนักงาน ค่าบริการสาธารณูปโภค และค่าบริการเครื่องดื่ม ที่น่าสนใจคือการใช้พื้นที่ทำงานร่วมนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน ด้วยความสามารถในการเชื่อมต่อและการทำงานร่วมกันที่ดี ๆ ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ตลาดได้อย่างทันท่วงที สรุป: Co-Working Space เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักฟรีแลนซ์และธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงเท่านี้เท่านั้นยังเป็นที่ที่สามารถสร้างความเข้มแข็งในธุรกิจและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ […]

คนทำงาน

ทำตัวอย่างไรเมื่อต้องเป็นหัวหน้าอายุน้อย

การศึกษานั้นช่วยพัฒนาคนได้ จึงทำให้ปัจจุบันมีหัวหน้างานที่อายุน้อยกว่าลูกทีม ซึ่งเมื่อเราต้องเป็นหัวหน้าที่อายุน้อย  แต่ปัจจัยหนึ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เมื่อเราประสบความสำเร็จคือวุฒิภาวะและประสบการณ์ที่อาจจะยังไม่เจนจัดพอที่จะควบคุมหรือรับมือกับบางสถานการณ์ได้อย่างราบรื่น ดังนั้นวันนี้จะมาบอกเทคนิควิธีรับมือกับคนทำงานเมื่อเราต้องเป็นหัวหน้าอายุน้อย 1.ความสามารถของคุณ อย่างแรกคือการสร้างความมั่นใจให้กับลูกทีมถึงความสามารถของคุณ แสดงให้คนในทีมเห็นว่าคุณมีความรู้ ความสามารถ ซึ่งไม่ได้มาจากหนังสือเท่านั้น แต่รวมไปถึงความรู้ที่สั่งสมมาจากการทำงานด้วย เพราะคนที่อายุมากกว่ามักจะมองว่าคนที่อายุน้อยกว่าไม่น่าจะมีความสามารถมากพอที่จะเป็นหัวหน้าเขา และอย่าลืมที่จะนำความรู้ที่คุณมีไปสร้างประโยชน์และเพิ่มพูนความสามารถของคนในทีมด้วย 2.เปิดกว้างและพร้อมรับความท้าทาย สิ่งที่ลูกน้องทุกคนต้องการจากคนที่เป็นหัวหน้าคือ การให้โอกาสได้แสดงความคิดเห็น และเปิดกว้างรับความคิด และนำเสนอไอเดีย รวมถึงนำไอเดียที่เสนอไปใช้จริง ไม่ใช่หัวหน้าเผน็จการที่เอาความคิดหรือไอเดียการทำงานของตัวเองเป็นใหญ่ พร้อมกันนี้ก็ควรให้เครดิตไอเดียงานของลูกน้องเสมอ 3.ใช้อำนาจให้ถูกเวลา ถึงอยู่ในตำแหน่งที่ทุกการตัดสินใจอยู่ที่เรา แต่หน้าที่ของเราคือ “บริหาร” ไม่ใช่ “ควบคุม” ต้องหาจุดที่พอดีให้เจอ เวลาปกติให้วางตัวเป็นเพื่อนร่วมงานที่เข้าถึงได้ แต่พอถึงเวลาตัดสินใจต้องเด็ดขาดไม่ลังเล ถ้าอ่อนข้อในเวลาจริงจัง พวกเขาอาจไม่นับถือคุณ แต่ถ้าแข็งข้อในเวลาที่ไม่จริงจัง พวกเขาจะไม่เคารพคุณ 4.เรียนรู้และเคารพในความแตกต่าง ช่วงวัยที่ห่างกันย่อมมีความคิด การแสดงออก และการกระทำที่แตกต่างกัน คนที่เป็นหัวหน้าจำเป็นต้องเรียนรู้และเคารพในความต่างเหล่านั้น อย่าคิดว่าสิ่งใหม่ย่อมดีกว่าสิ่งเก่าเสมอไป เช่น คนรุ่นใหม่มักจะชอบใช้การสื่อสารทางออนไลน์เพื่อติดต่องาน ในขณะที่คนที่มีอายุมากขึ้นมาอีกหน่อยชอบที่จะโทรศัพท์ หรือเดินไปพูดคุยด้วยตัวเอง ซึ่งในบางครั้งการโทรศัพท์ หรือเดินไปคุยอาจเป็นวิธีการสื่อสารที่เข้าใจได้ง่ายกว่านั่นเอง 5.มีทัศนคติที่ดี การเป็นคนที่มีทัศนติดีทำให้ใครก็อยากร่วมงานด้วย ไม่ว่าจะเป็นลูกน้อง หัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงาน มองว่าทุกปัญหามีทางแก้ไขและมีทางออกเสมอ ปัญหาคือความท้าทาย ที่ต้องก้าวผ่านไปให้ได้ […]

การทำงานเป็นทีม

ทำงานเป็นทีมอย่างไรให้สำเร็จ

สำหรับการทำงาน จะต้องมีการทำงานเป็นทีม เพื่อระดมกำลังและความรู้ความสามารถผลิตชิ้นงานที่สำคัญ ซึ่งการทำงานเป็นทีมนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กร การร่วมแรงร่วมใจกันก่อให้เกิดพลังที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ดีกว่าการแยกกันทำแบบสะเปะสะปะไร้ทิศทาง นั่นเลยทำให้หลายองค์กรหันมาให้ความสำคัญกับการทำงานระบบทีมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงมุ่งมั่นฝึกฝนและพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมอย่างเป็นจริงเป็นจัง เพื่อให้ก่อประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรในที่สุด วันนี้เราจะมาบอกวิธีการทำงานเป็นทีมอย่างไรให้งานสำเร็จกันเลย 1.เป้าหมาย การทำงานเป็นทีม ควรจะสร้างและโฟกัสเป้าหมายร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้บรรลุความสำเร็จตามภารกิจ ซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดี ควรมีการกำหนดขอบข่ายหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคนให้ชัดเจน แต่โฟกัสในสิ่งเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือร่วมมือร่วมใจและวัดความสำเร็จของทีม 2.เข้าใจหน้าที่ของตนเองและคนอื่น  ในการทำงานเป็นทีม บางครั้งจะเป็นการรวมกลุ่มคนที่มีทักษะและความสามารถที่แตกต่างกันออกไป เพื่อระดมความคิดเอาทักษะเรานั้นมาร่วมกันทำงาน ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีการมอบหมายงานให้ทำแตกต่างกัน ดังนั้นควรเข้าใจหน้าที่ของตนเองว่าเราต้องทำอะไร และเคารพหน้าที่ของคนอื่น ไม่ก้าวก่าย ไม่สงสัย 3.ตรงไปตรงมา จริงใจต่อกัน เมื่อทำงานร่วมกันเพื่อจุดประสงค์เดียวกันแล้ว ก็ควรเปิดใจต่อกัน ตรงไปตรงมาทั้งในเรื่องของงาน และความจริงใจระหว่างกันในทีม มีข้อเสนอแนะ เห็นพ้องเห็นต่างในจุดไหนอย่างไรก็กล้าที่จะพูดออกไปตามตรงโดยไม่ใช้อารมณ์หรือเรื่องส่วนตัว เมื่อเห็นต่างแล้วก็ควรมีเหตุผลที่ดีสนับสนุนให้เกียรติกัน พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อให้เพื่อนร่วมทีมได้แก้ไขจุดบกพร่อง 4.สานสัมพันธ์ ทำความรู้จัก สนิทสนมกัน หลายๆ องค์กรมักมีนโยบายละลายพฤติกรรมของทีม เช่น การไปเที่ยว Outing กิจกรรมสนุกสนานร่วมกันต่าง ๆ เพื่อหนุนให้เกิดความสนุกสนานสานสัมพันธ์กันในองค์กร เมื่อมีความสนิทสนมกันระดับหนึ่งแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ทีมทำงานไปด้วยกันอย่างราบรื่นมากขึ้นไปอีก กิจกรรมแบบนี้จึงควรจัดขึ้นปีละหลายครั้งหน่อย เพราะนอกจากจะช่วยในเรื่องการทำงานเป็นทีมแล้ว ยังช่วยลดภาวะความตึงเครียดจากการทำงานได้อีกด้วย 5.เป็นผู้นำที่ดี และเป็นผู้ตามที่มีวินัย บุคคลในทีมที่มี Teamwork […]